Knife
มีด คือเครื่องมือชนิดแรกๆ
ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมาอย่างยาวนาน
เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับแทบจะทุกกิจกรรม ในการดำเนินชีวิต
ไม่ว่าจะเป็นเผ่าพันธ์ หรือกลุ่มสังคมใดๆ ก็ตาม
มีดเป็นเครื่องมือตัดเฉือนชนิดมีคมสำหรับใช้ สับ หั่น เฉือน ปาด
บางชนิดอาจมีปลายแหลมสำหรับกรีด หรือแทง
มักมีขนาดเหมาะสมสำหรับจับถือด้วยมือเดียว ถ้ากล่าวถึงเรื่องมีด
หลายๆประเทศมักมีมีดเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่ชนชาวพื้นเมืองใช้สอยกันหรือ
นิยมใช้เป็นประจำ เช่น มีดกรูข่า
ที่ใช้ในประเทศอินเดีย กริชของประเทศอินโดนีเซีย หรือมีดตระกูลโบวี
ที่ใช้ในประเทศทางตะวันตก สำหรับประเทศไทยมีดที่เป็นเอกลักษณ์คงหนีไม่พ้น มีดเหน็บ อีเหน็บ
หรือ มีดปาดตาลที่ไม่มีของประเทศใดเหมือน
เป็นเอกลักษณ์ที่ลงตัวและใช้ประโยชน์ได้สูงสุดในการพกพาหรือนำติดตัวไปต่าง
แดนหรือเข้ารกเข้าพง การออกแบบรูปทรงมีดอาจจะแตกต่างกันบ้าง
ก็เป็นเพียงรูปลักษณ์ที่ช่างแต่ละคนจะสร้างสรรค์ขึ้นมา เพื่อจุดประสงค์ที่
แตกต่างกันออกไป
แต่ยังคงเอกลักษณ์ของภูมิปัญญาชาวบ้านที่ตัวมีดตีขึ้นจากเหล็กกล้า
ผ่านกระบวนการตีจนได้รูปมีดทีสวยงาม ปลายแหลมต่ำลงเล็กน้อย
ตรงกลางของมีดป่องออกแล้วไปคอดกิ่วตรงด้าม กั่นของมีดเรียวเล็ก
ยาวพอประมาณเพื่อเป็นแกนต่อกับด้ามมีด
มองโดยรวมก็สามารถบอกได้ถึงขุมพลังที่ซ้อนอยู่ภายใน ที่สามารถแล่ ฟัน แทง
รวมไว้ในมีดเหน็บเพียงเล่มเดียว ซึ่งต่างจากมีดของประเทศอื่นๆ
ที่มีคุณสมบัติในการใช้งานเพียงหนึ่งหรือสองอย่างเท่านั้น
ประวัติของมีดในประเทศไทย
ค้นพบครั้งแรกราว 30,000 ปี ตามแหล่งโบราณคดีต่างๆ
โดยวัสดุที่ใช้ทำมีด จะแตกต่างกันไปตามยุคสมัย มีดในยุคหิน
มักทำจากกระดูกหรือหินที่
กระเทาะให้มีความแหลมคมเพื่อใช้เป็นเครื่องมือและอาวุธ
โดยมีหลักฐานจากแหล่งโบราณคดีในภูมิภาคต่างๆ เช่น
แหล่งโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียน จังหวัดกระบี่ ถ้ำในอำเภอไทรโยค
ถ้ำต่างๆในบริเวณลุ่มน้ำแควน้อย จังหวัดกาญจนบุรี
ถ้ำผีแมนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพิงผาช้างที่อุทยานแห่งชาติ ออบหลวง
จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี
แหล่งโบราณคดีโนนป่าหวาย แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
แหล่งโบราณคดีโคกเจริญ แหล่งโบราณคดีโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
แหล่งโบราณคดีโนนเก่าน้อยในด้านตะวันออกของหนองหาน อำเภอกุมภวาปี
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น
มีดในยุคสำริด
ทำจากวัสดุสำริดขึ้น
รูปโดยการหล่อและการตี มักพบตามแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ซึ่งเป็นสายแร่ทองแดง
เช่น แหล่งโบราณคดีภูโล้น ริมฝั่งแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย
ซึ่งมีช่วงอายุประมาณ 3,750-3,425ปี แหล่งโบราณคดี บ้านนาดี อำเภอหนองหาน
จังหวัดอุดรธานี พบการหล่อสัมฤทธ์เป็นเครื่องใช้และเครื่องประดับ
มีอายุประมาณ 2,700-2,400ปี แหล่งโบราณคดีในลุ่มน้ำมูล ที่มีการใช้สัมฤทธ์
เช่น ที่บ้านประสาท บ้านหลุมข้าว อำเภอโนนสูงจังหวัดนครราชสีมา
มีแหล่งโบราณคดีแหล่งศูนย์การทหารปืนใหญ่
พบการใช้สำฤทธิ์เป็นเครื่องใช้และเครื่องประดับ มีอายุประมาณ 3,000
ปีมาแล้ว แหล่งโบราณคดีโนนป่าหวาย บ้านห้วยโป่งอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
เป็นแหล่งใหญ่ในการผลิตแร่ทองแดงประมาณ 3,500-3,000 ปีมาแล้ว
อ่างเก็บน้ำนิลกำแหง อายุประมาณ 3,301-2,900ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น